วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล จากจุฬาฯ ความหวังใหม่ของไทย
โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีภาพจำว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูง ถึงแม้จะมีประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองได้คุ้มค่าเพียงใดก็คงไม่มีใครอยากเสียชีวิตเพราะโรคมะเร็ง อีกทั้งยังเป็นโรคที่มีความจำเพาะเจาะจง เนื่องจากสาเหตุของโรคอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว และเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว
มะเร็งที่เกิดขึ้นในอวัยวะแต่ละส่วนก็มีความยากง่ายในการรักษาที่ไม่เหมือนกัน แต่ถึงแม้จะมีความท้าทายในการรักษาโรคมะเร็งมากเพียงใด การพัฒนาทางการแพทย์ก็พยายามก้าวให้ทันกับการรักษาโรคเสมอ ดังเช่นการวิจัยพัฒนา “วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล” จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ทำไมต้องเป็นวัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล
การรักษาโรคมะเร็งจะใช้การบำบัดด้วยยาเคมี ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพปานกลาง แต่ค่าใช้จ่ายไม่สูงเท่าการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเข้าถึงการรักษาด้วยวิธีใช้ยาเคมีบำบัดมากกว่า ซึ่งส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยตามมา เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องร่วง มีจุดจ้ำเลือดตามผิวหนัง ผมร่วง เป็นต้น
ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมานแก่ผู้ป่วย และโดยส่วนใหญ่ผู้คนจึงทำ ประกันชีวิต กับตัวแทนที่เชื่อถือได้เพื่อให้ได้ความคุ้มครองในเรื่องนี้ เช่น ตัวแทน AIA ที่มีแผนสำหรับโรคมะเร็งโดยเฉพาะให้เลือก
ในขณะที่ วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด ที่สามารถใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่น ๆ ได้ แต่จะให้ประสิทธิภาพการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เหมาะสมในแต่ละรายบุคคลมากขึ้น ช่วยลดผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม การจะรักษาด้วยวิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายผู้ป่วยแต่ละคน และหลายคนยังคงรักษาได้ดีโดยการใช้ยาเคมีบำบัด จึงต้องพิจารณาเลือกวิธีการรักษาตามความเหมาะสม
ความก้าวหน้าของ วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล ถึงขั้นไหนแล้ว ?
ทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยการใช้วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลมาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยระยะเวลา เนื่องจากการทดลองวัคซีนต้องอาศัยการสังเกตการกลายพันธุ์ของมะเร็ง ซึ่งสามารถกลายพันธุ์ได้มากกว่า 1,000 รูปแบบ จึงต้องมีการผลิตและทดสอบในอาสาสมัครทีละคนเพื่อความแม่นยำ และในเบื้องต้นเป็นการศึกษาวิจัยสำหรับรักษาเฉพาะในผู้ที่เป็นมะเร็งไต มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาหรือมะเร็งเม็ดสี
ผลการทดสอบพบว่าหลังฉีดวัคซีนรักษา มะเร็งเฉพาะบุคคล แล้ว ทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในตัวผู้ป่วยได้ อาการข้างเคียงมีเพียงอาการปวดในบริเวณที่ฉีดวัคซีนเท่านั้น แต่ไม่ต้องทานยาแก้ปวด ยังไม่พบอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ ท้องผูก หรือผมร่วง และในปัจจุบัน วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลกำลังอยู่ในระยะทดสอบทางคลินิกในปี 2566 นี้ เมื่องานวิจัยสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ก็จะมีการดำเนินการขึ้นทะเบียน ซึ่งอาจใช้เวลาเร็วกว่าหรือภายใน 3-4 ปีข้างหน้า
การรักษาโรคมะเร็งมีความก้าวหน้ามากขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการแพทย์ แต่ก็ไม่ควรประมาทและต้องรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทำประกันชีวิตเพื่อรับรองความเสี่ยงของตัวคุณและคนที่คุณรักเอาไว้กับ ตัวแทนประกัน AIA ที่สามารถมอบความคุ้มครองได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องกังวลกับค่ารักษาและค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป เพราะมีประกันที่ดีไว้ช่วยดูแลความเสี่ยงด้านสุขภาพจากโรคร้ายอีกทางหนึ่ง